top of page

พระมหาธรรมราชาที่ 1   (ลิไทย)

        พระราชโอรสของพระยาเลอไทย  (รัชกาลที่ 4)   หลังจากปราบการจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ  และขึ้นครองราชยืแล้วทรงพิจารณาเห็นว่า  เกิดความแตกแยกและขาดความไว้วางใจกันในอาณาจักร  จึงทรงริเริ่มรวบรวมกำลังอำนาจ   สร้างความสามัคคีเพื่อพัฒนาบ้านเมืองใหม่  ทำให้สุโขทัยเข้มแข็งขึ้น  พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  ได้แก่

 1.การปกครอง      พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย)    ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม   ทรงยึดมั่นใน

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการปกครองบ้านเมืองคือ   ทรงปกครองด้วยหบักทศพิธราชธรรม   ซึ่งมิได้มุ่งเน้นที่พระมหากษัตริย์เท่านั้น  แต่หมายรวมถึงข้ารราชบริพาร  ที่ทำหน้าที่แทนพระองค์ในกิจการทั้งหลายอันเกี่ยวกับการปกครอง  มีการชักชวนสงเสริมให้ประชาชนเลื่อมใสศัทธาในหลักธรรมและนำไปปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 2. การป้องกันอาณาจักร     ใน  พ.ศ.  1893    เมืองสุพรรณภูมิและเมืองละโว้ (ลพบุรี)    ได้รวมกันตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น   มีพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ประกาศเป็น

อาณาจักรอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัย  และเมืองลาว  ก็ได้ขยายอาณาเขตเข้ามาจดแดนของอาณาจักรสุโขทัย   ทรงตระหนักในภัยที่อาจเกิดขั้นได้    จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ  ผนึกกำลังรักษาบ้านเมืองไว้ได้อย่างปลอดภัย  นอกจากนี้พระองค์พยายามฟื้นฟูอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นที่ยอมรับของอาณาจักรใกล้เคียง  ด้วยการสร้างกำลังกองทัพทำศึกสงครามมยกทัพไปตีเมืองแพร่    และปราบหัวเมืองต่างๆ  อาณาเขตของสุโขทัยในสมัยของพระองค์ลดลงจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมากกว่าครี่ง  มีอาณาเขตดังนี้    

ทิศเหนือ      ถึงเมืองแพรทิศใต้        ถึงเมืองพระบาง   โดยมีเมืองชากังลาว   เมืองปากยม   เมืองนครพระชุทม    เมืองสุพรรรณภาว    และเมืองพานร่วมาอยู่ด้วย

 ทิศตะวันออก     ถึงแดนอาณาจักรล้านช้างโดยมีเมืองสระหลวง   เมืองสองแคว   เมืองราด   เมืองลุมบาจาย   และเมืองสคารวมอยู่ด้วย

ทิศตะวันตก    ถึงเมืองฉอด

 3. เศรษฐกิจ   ด้วยเหตุที่อาณาจักรอยุธยาและเมืองลาว   มีกำลังอำนาจเข้มแข็ง   อาจขยายอำนาจและอาณาเขตเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย  จำเป็นต้องสะสมเสบียง

อาหาร  จึงทำนุบำรุงการประกอบอาชีพโดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม   ได้มีการขยายพื้นที่การทำกินของราษฎรเพิ่มขึ้น   มีการตัดถนนจากเมืองสองแควไปถึงเมืองสุโขทัย   เพื่อใช้ในการคมนาคม   และใช้พื้นที่สองฟากถนนทำสวนผักผลไม้  ทำไร่  ทำนา เป็นการเพิ่มผลผลิต  เมื่อไม่เกิดสงครามจึงเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจของอาณาจักร

 4. ศาสนา      ทรงศรัทธาพระพุทธศาสนามาก   พระองค์ทรงผนวชอยู่หนึ่งพรรษา   โดยทรงอาราธนาพระมหาสามัสังฆราชชาวลังกา  ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครพัน

(ปัจจุบันคือ  เมทืองเมาะตะมะ  หรือมะตะบัน)   มาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการผนวชของพระองค์  พระองค์ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  มีการสร้างพระพุทธบาทโดยจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากประเทศลังกา   สร้างสถูปเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนครชุม   และสร้างศาสนสถานอื่นๆ เป็นการชักชวนให้ประชาชนจากเมืองต่างๆ   มานมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ที่พระองค์สร้างขึ้น  ช่วยให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา  และง่ายแก่การเผยแผ่ปฏิบัติธรรมะ  ส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 5. วรรณคดี      ทรงนิพนธ์หนังสือ   เตภูมิกถา (เตภูมิกถา  หรือ  ไตรภูมิพระร่วง)   หนังสือเล่มนี้  จัดเป็นวรรณคดีล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน  พระองค์ทารงนิพนธ์

เพื่อนนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เพื่อประพฤติปฏิบัติเป็นการปลูกฝังธรรมะให้ประชาชนรู้จักประพฤติในทางที่ชอบและดีงาม  มีการนำสวรรค์และนรกมาแสดงเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประชาชนเห้นผลของการประพฤติดี  ประพฤติชั่ว  ปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมา

 

 อ้างอิง http://editor.wix.com/html/editor/web/renderer/edit/56f78c34-4b31-4350-94c0-f94704d3b664?metaSiteId=afea3fa1-b89d-47cd-9114-bc77baffa40e&editorSessionId=C8AFEE42-CB7A-460C-9E27-7B88E6F5E9B8

พระมหาธรรมราชาที่ ๑  

(ลิไทย)

© 2023 by Make Some Noise. Proudly created with Wix.com

  • Facebook Clean Grey
  • Instagram Clean Grey
  • Twitter Clean Grey
  • YouTube Clean Grey
bottom of page